สถิติ
เปิดเว็บ | 12/09/2011 |
อัพเดท | 16/12/2019 |
ผู้เข้าชม | 342,100 |
เปิดเพจ | 586,683 |
สินค้าทั้งหมด | 30 |
บริการ
ลิ้งก์ตัวอักษร
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมใหญ่ พระประธาน
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
828
-
เข้าชม
24,230 ครั้ง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
27/10/2019 04:13
-
รายละเอียดสินค้า
สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พระประธาน ดูจากรอยปริที่ซุ้มทางซ้ายจะเห็นลักษณะคล้ายดินผสมกับโลหะประเภทตะกั่ว เพราะที่รอบๆผิวพระมีคราบไข ของโลหะชนิดหนึ่งคือตะกั่ว ในเนื้อพระอาจผสมผงใบลานเผาด้วยเพราะเนื้อพระสีดำ บางท่านอาจจะตีไปว่าเป็นเนื้อผงใบลาน แต่ไม่ได้เผา
หากพิจรณาเป็นเนื้อตะกั่ว พระสมเด็จ เนื้อตะกั่วถ่ำชา สร้างจากใบห่อชา สมเด็จพุฒจารย์ (โต) พรหมรังสี กรุวัดละครทำ ลักษณะ ผิวพระแห้ง ปรากฏสนิมแดง สนิมตะกั่ว คราบไขขาว คราบรอยผุและฝุ่นบางๆเกาะที่ผิวพระ ที่สำคัญมีลักษณะสึกกร่อน ที่แสดงให้เห็นว่าผ่านกาลเวลา นานนับร้อยปี
ตะกั่ว ถ้ำชาเป็นตะกั่วเนื้ออ่อน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าตะกั่วน้ำนมหรือตะกั่วนมสาว มีคุณสมบัติพิเศษคือโค้งงอได้ บิดตัวได้โดยไม่หัก และขีดกระดาษติด Texture หรือพื้นผิวเมื่อถูกสัมผัสหรือขูดจะเห็นเนื้อในเป็นสีเงินยวง แต่จะกลับดำขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ตามหลักวัสดุศาสตร์ตะกั่วชนิดนี้เมื่อผ่านอายุกาลนานมากกว่า 100 ปี จะมีการทำปฏิกิริยาเบื้องต้น (Lead Oxide) จะเกิดสนิมชั้นแรกเป็นสีแดงเรื่อๆ และมีไขจับแน่นที่ผิวตะกั่ว ไขที่เกิดกับเนื้อตะกั่วถ้ำชาจะมีลักษณะคล้ายๆ ไข่แมงดาเป็นเม็ดกลมตึงจับอยู่ทั่วผิว พื้นผิวของตะกั่วถ้ำชาที่ผ่านอายุกาลมานานขนาดนี้จะมีความยับย่นปรากฏอยู่ ทั่วไป
ความรู้ทั่วไปจากสมุดบันทึกหลวงปู่คำ
หลวงปู่คำเป็นเจ้าอาวาสวัดอัมรินทร์ และหลวงปู่โตเรียกท่านว่าหลวงพี่ หลวงปู่คำท่านไปช่วยหลวงปู่โตทำพระสมเด็จอยู่เสมอ เมื่อหลวงปู่โตท่านได้มรณภาพแล้ว หลวงปู่คำจึงเก็บรวบรวมพิมพ์พระต่างๆของหลวงปู่โต แล้วทำการบันทึกย่อๆไว้ ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยของคนโบราณ หรือคนสมัยใหม่ก็ตามที่ไม่ใช่นักเขียนอาชีพ ถ้าจะให้เขียนอะไรยาวๆ แบบบรรยายก็เขียนไม่เป็น จึงเป็นบันทึกย่อไว้ในสมุด ถึงกระนั้นเพียงแค่นี้ก็นับว่าเป็นหลักฐานที่มีค่าสูงส่งแล้ว
รูปสมุดบันทึก หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์บันทึกย่อนี้มีใจความว่า“พ่อโตบวชพระเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๐ เกิด ชาตะ ๒๓๓๐ บวชพระ ๖๕ พรรษา มรณะ ๒๔๑๕ บวชเณร ๘ พรรษา บวชตั้งแต่เป็นเณร พ.ศ.๒๓๔๒”
ตัวอักษรดำใหญ่ เป็นบันทึกเพิ่มเติมภายหลังว่า
“แต่เป็นบันทึกของหลวงปู่คำ เขียนไว้ถี่ถ้วน เป็นที่เชื่อได้เป็นประวัตอันแท้จริงของขรัวโตวัดระฆัง แล้วมาลอกต่อเมื่อปู่คำได้มรณภาพไปแล้ว ๔ ปี ในราว พ.ศ.๒๔๒๕ แล้วบันทึกนี้ตกอยู่ที่พระครูปลัดมิศร์ และนายพึ่ง ลูกนายเหลี่ยมบ้านช่างหล่อ ได้ไปขอปลัดมิศร์มาลอกเอาไว้ในราว ๒๔๓๙ แล้วนายจอม องค์ช่างหล่อมาลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ ๒๔๔๓ นายจอมเป็นหัวหน้ากองโรงกษาป ได้ลอกมาจากบ้านช่างหล่อหลังวัดระฆัง เป็นหลานนายพึ่งปฏิมาปกร เคยเป็นเจ้ากรมกษาปหรือช่างสิบหมู่สมัยนั้น ต่อมาหลานนายจอมได้ลอกมาไว้เป็นครั้งสุดท้าย พระคุณท่านได้เป็นพระวิปัสสนาสูง จะหาพระองค์ใดมาเปรียบมิได้”
ทางขวาเป็นบันทึกของหลวงปู่คำต่ออีกว่า
“พิมพ์พระสมเด็จทรงนิยมที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จัก
พิมพ์ที่ ๑ ทรงพระประธาน มี ๕ พิมพ/ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๒ ทรงชายจีวร มี ๑๕ พิมพ์/ คะแนน ๒ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๓ อกร่องหูยานฐานแซม มี ๓ พิมพ์/ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๔ เกศบัวตูม มี ๔ พิมพ์/ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๕ ปรกโพธิ์มีพิมพ์ที่ไม่แตกมี ๕ พิมพ์/ คะแนน ๑ พิมพ์ **(มีพิมพ์ที่ใช้และแตกไปแล้ว)
พิมพ์ที่ ๖ ฐานคู่มีพิมพ์ที่ไม่แตก มี ๓ พิมพ์/ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๗ เส้นด้าย มี ๑๕ พิมพ์/ คะแนน ๒ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๘ สังฆาฏิ มี ๗ พิมพ์/ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๙ หน้าโหนกอกครุฑ มี ๑๖ พิมพ์ ทั้งพิมพ์ใหญ่
พิมพ์ที่ ๑๐ พิมพ์ทรงเจดีย์ มี ๒ พิมพ์/ คะแนน ๑ พิมพ์
เมื่อพระคุณท่าน ได้มรณภาพแล้ว รวมพิมพ์พระที่ไม่แตกชำรุดได้ ๑๖๔ พิมพ์ เป็นพิมพ์สมเด็จที่นิยมและไม่นิยม ๘๑ พิมพ์ นอกนั้นเป็นพิมพ์พระอย่างอื่นเสีย ๘๓ พิมพ์ แล้วที่แตกหัก ๘ ถาดทองเหลืองเต็ม ๆ และพิมพ์ไกเซอร์ที่เสด็จยุโยป ๓๐๐ องค์ ๆ พิมพ์เป็นพระได้แจกให้พระเจ้าไกเซอ ต่อมาได้ทำพิมพ์เศียรบาตรขึ้นมาแทนพิมพ์ไกเซอ เพราะใครก็อยากได้พิมพ์ไกเซอ เลยเอาพิมพ์เศียรบาตรแทน ต่อมาคนได้เชื่อว่าพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ไกเซอ แต่ความจริงไม่ใช่ พิมพ์ไกเซอองค์พระนั่งบนบัว”
จบบันทึกหลวงปู่คำ
หลวงปู่คำ องค์นั่งด้านซ้ายมือของหลวงปู่โต ส่วนองค์ขวามือคือพระปลัดไฮ้ หรือพระปลักมิศร์ เป็นพระฐานานุกรมของหลวงปู่ อยู่วัดระฆัง หลวงปู่โตเรียกหลวงปู่คำว่าหลวงพี่คำ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง